การใช้ปุ๋ยในสวนยางพาราที่ให้ผลผลิตแล้ว
(13 votes, average: 4.46 out of 5)

สำหรับ
สวนยางพาราที่เริ่มเปิดกรีดซึ่งอาจจะเป็นต้นยางที่มีอายุ 6-7 ปี
หากว่าเป็นสวนยางพาราที่เคยปลูกพืชคลุมและได้ใส่ปุ๋ยบำรุงต้นยางและพืชคลุม
เป็นอย่างดีมาอย่างสม่ำเสมอ
(เดี๋ยวนี้แทบหาสวนยางที่ปลูกพืชคลุมไม่ได้แล้ว!)
สถาบันวิจัยยางให้ข้อคิดว่าเราอาจไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยในช่วง 2
ปีแรกของการเปิดกรีดก็ได้ เพราะว่าผลตกค้างจากการใส่ปุ๋ยที่ผ่าน ๆ
มาและการสร้างปุ๋ยโดยธรรมชาติของพืชคลุมดินตระกูลถั่วทำให้ต้นยางยังคงได้
รับธาตุอาหารอย่างเพียงพอ แต่หากว่าสวนยางพาราของเราไม่เคยปลูกพืชคลุมเลย
ก็คงจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยเพื่อให้ได้รับผลผลิตสูงสม่ำเสมอ
สำหรับผู้ที่ชอบหลักการหรือที่มา
ผมขอแนะนำตัวเลขจากสถาบันวิจัยยางที่ศึกษาทดลองแล้วสรุปผลออกมาว่า
ปริมาณธาตุอาหารที่เหมาะสมสำหรับยางพาราหลังเปิดกรีด คือ ต้องการ
- ไนโตรเจน 300 กรัมต่อต้นต่อปี(หรือ 24 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี)
- ฟอสฟอรัส 50 กรัมต่อต้นต่อปี(หรือ 4 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี)
- โพแทสเซี่ยม 180 กรัมต่อต้นต่อปี(หรือ 14.4 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี)
เมื่อรู้ว่าต้นยางพาราระยะนี้ต้องการธาตุอาหารแค่ไหนแล้ว หากทำได้
ก็ควรวิเคราะห์ดินว่ามีธาตุอาหารแต่ละตัวมากน้อยแค่ไหน
แล้วผสมปุ๋ยให้ตรงกับสวนยางพาราของเราซึ่งเราเรียกวิธีการแบบนี้ว่าเป็นการ
"ใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน" แต่ละแปลง
แต่หากไม่สะดวกที่จะวิเคราะห์ในตอนนี้ก็ให้ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 29-5-18
ด้วยอัตราการใส่อย่างน้อย 1 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี และควรแบ่งใส่ 2
ครั้ง(ครึ่งกิโลกรัมต่อต้นต่อครั้ง) ในช่วงต้นฤดูฝนครั้งหนึ่ง
และปลายฤดูฝนอีกครั้งหนึ่ง
โดยใส่ในบริเวณกึ่งกลางระหว่างแถวต้นยางซึ่งมีรากดูดอาหารหนาแน่น
แล้วคราดกลบ หรือใส่เป็นหลุมแล้วกลบ ต้นละ 2-4

หลุม
เพื่อป้องกันการสูญเสียปุ๋ยโดยถูกน้ำชะล้าง
และควรกำจ้ดวัชพืชก่อนทำการใส่ปุ๋ยทุกครั้ง ด้วยการตัดชิดดินในแถวต้นยาง
สำหรับระหว่างแถวต้นยางก็ควรตัดชิดดินในช่วงต้นฤดูฝน(เพื่อให้สวนยางโปร่ง
และลดความชื้น-ลดการระบาดของโรคจากเชื้อรา)
ส่วนในช่วงปลายฤดูฝนถ้าจะตัดแบบเหลือความสูงไว้บ้างสักไม่เกินระดับเข่า
ก็จะเป็นการดีที่จะทำให้ความชื้นในสวนยางยังคงมีอยู่บ้างเมื่อเข้าสู่หน้า
แล้ง ซึ่งจะทำให้สวนยางให้ผลผลิตน้ำยางมากกว่าสวนที่โล่งเตียน-อากาศแห้ง
สวนยางพาราที่เปิดกรีดแล้วไม่ควรไถ
เพราะการไถจะเป็นการตัดรากแขนงและรากฝอยหรือรากดูดอาหารจนเกือบหมดสิ้น
และการไถยังมีส่วนทำให้ต้นยางพาราเป็นโรคเปลือกแห้งมากกว่าสวนยางที่ไม่ได้
ไถถึงประมาณ 3 เท่า
แต่ถ้าไม่สามารถหาปุ๋ยเม็ดสูตร 29-5-18 ได้
ชาวสวนยางก็สามารถหาซื้อแม่ปุ๋ยมาผสมเองได้ ถ้าต้องการผสมปุ๋ยสูตร 30-5-18
จำนวน 100 กิโลกรัม ก็ให้ใช้แม่ปุ๋ยและจำนวน ดังนี้
ไดแอมโมเนียมฟอสเฟต(18-46-0) จำนวน 10 กิโลกรัม
- ยูเรีย (46-0-0) จำนวน 60 กิโลกรัม
- โพแทสเซียมคลอไรด์ (0-0-60) จำนวน 30 กิโลกรัม
หากไม่สามารถหาปุ๋ยสูตร 29-5-18 หรือไม่สะดวกที่จะผสมปุ๋ยสูตร 30-5-18
ใช้ได้ ก็สามารถใช้ปุ๋ยสูตร 15-7-18 ก็ได้เช่นกัน
ชาวสวนยางในภาคใต้มักใช้ปุ๋ยสูตร 15-7-18 กันมาก
เนื่องจากสูตรนี้เป็นปุ๋ยสูตรสำหรับยางที่เปิดกรีดแล้วที่สถาบันวิจัยยางเคย
แนะนำให้ใช้มาก่อนที่จะแนะนำสูตร 30-5-18 หากเปรียบเทียบแล้วการใช้สูตร
30-5-18 จะให้ผลผลิตน้ำยางสูงกว่า ใช้สูตร 15-7-18 ประมาณ 15 %
แต่หากเรารู้ว่าสภาพดินในสวนยางของเรามีธาตุไนโตรเจนอยู่มากแล้ว
ก็น่าจะใช้สูตร 15-7-18 แทน จะเป็นการประหยัดกว่า
ปุ๋ยอินทรีย์จำเป็นหรือไม่อย่างไร?
เนื่องจากการปลูกยางพาราที่ผ่านมา จะมีการใส่ปุ๋ยเคมีให่กับสวนยางทุก ๆ
ปี หากปลูกยางพารามาแล้ว 1 รอบ ก็เท่ากับใส่ปุ๋ยเคมีลงในสวนยางมานานถึง 25
ปีแล้ว ตอนนี้มีไม่น้อยเลยที่กำลังจะปลูกยางเป็นรอบที่ 3
ก็เท่ากับว่าพื้นดินในสวนยางได้รับปุ๋ยเคมี มาแล้ว เกือบ 50 ปี
สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาก็คือดินอยู่ในสภาพเสื่อมโทรม สูญเสียคุณสมบัติทางชีวะ
เคมี ฟิสิกส์ ทำให้ดินแข็ง, ไม่ร่วนซุย, ไม่มีใส้เดือน
หรือจุลินทรีย์ในดินเพียงพอที่จะทำให้เหมาะแก่การเจริญเติบโตของพืชได้
แนวทางเดียวที่จะแก้ปัญหานี้ได้
ก็คือกลับสู่ธรรมชาติโดยเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรืออินทรีย์ชีวภาพ
บ้างนั่นเอง

เนื่อง
จากอินทรีย์วัตถุมีส่วนช่วยให้คุณสมบัติดินในทุกด้านดีขึ้น
ดังนั้นสำหรับสวนยางพาราที่ไม่เคยปลูกพืชคลุมมาก่อน
จึงควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในอัตรา 2-3 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี
โดยใส่ร่วมกับปุ๋ยเคมีตามอัตราที่แนะนำ
หากต้องการใส่มากกว่านี้ก็สามารถทำได้
การใส่ปุ๋ยอินทรีย์จำนวนมากสามารถลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้
แต่ต้องคำนึงถึงต้นทุนและผลตอบแทนด้วย
สถาบันวิจัยยางได้ทำการทดลองกับสวนยางพาราในเขตแห้งแล้งแล้วพบว่า
สำหรับสวนยางพาราที่มีอินทรีย์วัตถุในดินสูงและมีธาตุอาหารพอเพียง
การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ 3 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี
สามารถลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้ครึ่งหนึ่ง
มาตรฐานขั้นต่ำของธาตุอาหารในปุ๋ยอินทรีย์หรืออินทรีย์ชีวภาพ คือ
1.0-0.5-0.5 ซึ่งจะเห็นว่าต่ำมากเมื่อเทียบกับปุ๋ยสูตร 30-5-18 หรือ
15-7-18 ดังนั้น การจะใช้ปุ๋ยอินทรีย์จำนวนเพียง 2-3
กิโลกรัมต่อต้นต่อปีเพียงอย่างเดียว จึงไม่อาจทดแทนปุ๋ยเคมีทั้งหมดได้
หรือไม่อาจทำให้ต้นยางพาราได้รับธาตุอาหารอย่างเพียงพอเพื่อให้มีผลผลิตสูง
สม่ำเสมอได้
สำหรับสวนยางพาราที่เคยปลูกพืชคลุมตระกูลถั่วชนิดเลื้อยมาตลอด
เมื่อถึงช่วงเปิดกรีดแม้จะไม่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ก็ไม่เป็นไร
เพราะถือว่ามีอินทรีย์วัตถุในดินเพียงพอแล้วจากการปลูกพืชคลุมนั่นเอง
ในปัจจุบันนี้ ราคาปุ๋ยอินทรีย์หรืออินทรีย์ชีวภาพมีราคาแพงมาก เกษตรกรชาวสวนยางพาราจึงควรทำหรืออาจรวมกลุ่มกัน
ทำปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองเพื่อลดต้นทุน ซึ่งอาจจะเหลือเพียง กิโลกรัมละ 2-3 บาท เท่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น