การผสมปุ๋ยเคมีใช้เอง
ปัจจุบัน
เกษตรกรที่มีอาชีพในการทำสวน เช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ไม้ผลต่าง ๆ
ไม้ดอก ไม้ประดับและพืชผัก มีความต้องการที่จะเพิ่มผลผลิต
ให้สูงขึ้นทั้งสิ้น ซึ่งในการที่จะเพิ่มผลผลิตนอก จากเกษตรกรจะใช้พืชพันธุ์ที่ดีแล้ว การดูแลบำรุงรักษา ก็ต้องมีการใช้ปุ๋ยเคมีที่ดีด้วย จากปัญหาปุ๋ยเคมีที่จำหน่ายในท้องตลาดมีราคาแพง เกษตรกรจึงควรที่จะลดต้นทุนการผลิตโดยการผสมปุ๋ยเคมีขึ้นใช้เอง เพื่อให้เกิดผลกำไรมากขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้เกษตรกรมีความมั่นใจได้ว่าปุ๋ยเคมีที่เกษตรกรผสมขึ้นมาเอง มีคุณภาพและปริมาณธาตุอาหารตรงตามที่ต้องการ และไม่ปลอมแน่นอน
ปุ๋ยผสม หมายถึง ปุ๋ยเคมีที่มีธาตุอาหารอยู่ตั้งแต่ 2 ธาตุขึ้นไป โดยการนำอาแม่ปุ๋ยชนิดต่าง ๆ มาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน โดยมีธาตุอาหารตรงตามเกรดหรือสูตรที่เกษตรกรต้องการ
แม่ปุ๋ย หมายถึง ปุ๋ยเคมีที่นำมาใช้ในการทำปุ๋ยผสม โดยแม่ปุ๋ยเคมีอาจเป็นปุ๋ยเชิงเดี่ยวหรือปุ๋ยเคมีที่ใช้ธาตุอาหารรับรองแก่ พืชเพียงธาตุเดียว หรือ 2 ธาตุ คือ ไนโตรเจนฟอสฟอรัส และโปตัสเซี่ยม
ชนิดของแม่ปุ๋ยเคมีที่ให้ปริมาณธาตุอาหารรับรอง
- ธาตุอาหารไนโตรเจน (N) ได้แก่ แอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0) แอมโมเนียคลอไรด์ (25-0-0) แอมโมเนียมไนเตรท(34-0-0) ยูเรีย (46-0-0)
- ธาตุอาหารฟอสฟอรัส (P) ได้แก่ ร๊อคฟอสเฟต (0-3-0) ซูเปอร์ฟอสเฟต (0-20-0) ดับเบิ้ลซุปเปอร์ฟอสเฟต (0-40-0) ทริปเปิ้ลซุปเปอร์ฟอสเฟต (0-46-0)
- ธาตุอาหารโปตัสเซี่ยม (K) ได้แก่ โปตัสเซี่ยมซัลเฟต (0-0-50) โปตัสเซี่ยมคลอไรด์ (0-0-60)
- ธาตุอาหารไนโตรเจน (N) และฟอสฟอรัส (P) ได้แก่ ไดแอมโมเนียมฟอสเฟต (18-46-0) โมโนแอมโมเนียฟอสเฟต (11-52-0)
- ธาตุอาหารไนโตรเจน (N) และโปตัสเซี่ยม (K) ได้แก่ โปตัสเซี่ยมไนเตรท (13-0-46)
วิธีการผสมปุ๋ยเคมีเมื่อ เกษตรกรทราบแล้วว่าจะต้องใช้ปุ๋ยเคมีชนิดใด และน้ำหนักสุทธิที่จะใช้เท่าใดแล้ว ก็นำมาผสมกัน เกษตรกรควรรู้วิธีผสมและวัสดุอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ต้องใช้คือ
1. ควรผสมบนพื้นปูนซิเมนต์ที่แห้ง หรือบนพื้นดินที่เรียบมีผ้าใบรองพื้น
2. ควรผสมไม่เกินครั้งละ 200 กิโลกรัม เพราะจะทำให้ปุ๋ยผสมคลุกเคล้าไม่ทั่วถึง
3. อุปกรณ์ที่ใช้ในการผสมควรแห้ง เช่น จอบ พลั่ว หากต้องการปริมาณมากควรใช้เครื่องปูนซีเมนต์ หรือเครื่องผสมอาหารสัตว์ขนาดเล็กที่ได้
4. ให้เทแม่ปุ๋ยที่จะผสมจำนวนมากให้อยู่ด้านล่าง ส่วนปริมาณน้อยให้ไว้ชั้นบนขึ้นมาตามลำดับ ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วจึงนำไปใช้ทันที
การเก็บรักษา
1. เมื่อใช้ปุ๋ยเคมีไม่หมดให้เก็บไว้ในกระสอบพลาสติกสานชั้นนอก โดยชั้นในมีถุงพลาสติกใสเรียบร้อยหรือมัดปากถึงชั้นในและนอกให้แน่นสนิท
2. ควรเก็บไว้ในที่ร่ม และแห้ง ไม่โดนแสงแดดและฝน
3. หากวางบนพื้นปูนซีเมนต์ควรมีไม้รองรับ
ตัวอย่างการคำนวณปุ๋ยผสม
ถ้าหากต้องการปุ่ยผสมสูตร 20-8-20 โดยใช้แม่ปุ๋ย 3 ตัว ดังกล่าว
วิธีการคำนวณ
คำนวณหา % ฟอสฟอรัส ก่อน
8 % ฟอสฟอรัส ใช้แม่ปุ๋ยไดแอมฯ = 8 x 100 = 17.4 กก.
46
แม่ปุ๋ยไดแอมฯ 17.4 กก. มีไนโตรเจนติดมาด้วย = 18 x 17.4 = 3.1 กก.
100
ดัง นั้น นำไนโตรเจน 3.1 กก. ไปหักออกจากไนโตรเจน 20 % จากสูตรที่ต้องการผสม ไนโตรเจนยังขาดอีก 16.9 กก. (20-3.1=16.9 กก.) เอาไปคำนวณหาจากแม่ปุ๋ยยูเรีย
ต้องการไนโตรเจน 16.9 กก. ใช้ยูเรีย 16.9 x 100 = 36.7 กก.
46
และต้องการโพแทสเซี่ยม 20 % ใช้โพแทสเซี่ยมคลอไรด์ 20 x 100 = 33.3 กก.
60
ดัง นั้น เพื่อให้ได้ปุ๋ยผสมที่มีธาตุอาหารไนโตรเจน 20 กก. ฟอสฟอรัส 8 กก. และโพแทสเซี่ยม 20 กก. หรือสูตร 20-8-20 จะต้องใช้แม่ปุ๋ย
- ปุ๋ยไดแอมโมเนียมฟอสเฟต 17.4 กก.
- ปุ๋ยยูเรีย 36.7 กก.
- ปุ๋ยโพแทสเซี่ยมคลอไรด์ = 33.3 กก.
รวมน้ำหนักปุ๋ยผสม 87.4 กก.
เนื่อง จากน้ำหนักปุ๋ยที่ผสมได้ไม่ครบ 100 กก. แสดงว่าปุ๋ยผสมที่ได้ มีสูตรสูงกว่าที่กำหนดไว้ ดังนั้น เมื่อนำปุ๋ยผสมนี้ไปใช้ก็ต้องลดอัตราปุ๋ยที่ควรจะใช้โดยวิธีคำนวณ เช่น ถ้าใช้ปุ๋ยสูตร 20-8-20 ต้นยางอายุ 15 เดือน ที่ปลูกในเขตปลูกยางเดิมเป็นดินร่วน ใช้อัตรา 150 กรัม/ต้น แต่เมื่อใช้ปุ๋ยผสมเองจะต้องใส่เพียง 130 กรัม/ต้น เท่านั้น
การคำนวณ น้ำหนักปุ๋ย 100 กก. ใช้อัตรา = 150 กรัม
น้ำหนักปุ่ย 87.4 กก. ใช้อัตรา = 150 x 87.4 = 131.10 กรัม/ต้น
100
หรือประมาณ 130 กรัม/ต้น
ดาวน์โหลด โปรแกรมคำนวณปุ๋ยผสม สูตรต่าง ๆ
ถ้าหากต้องการปุ่ยผสมสูตร 20-8-20 โดยใช้แม่ปุ๋ย 3 ตัว ดังกล่าว
วิธีการคำนวณ
คำนวณหา % ฟอสฟอรัส ก่อน
8 % ฟอสฟอรัส ใช้แม่ปุ๋ยไดแอมฯ = 8 x 100 = 17.4 กก.
46
แม่ปุ๋ยไดแอมฯ 17.4 กก. มีไนโตรเจนติดมาด้วย = 18 x 17.4 = 3.1 กก.
100
ดัง นั้น นำไนโตรเจน 3.1 กก. ไปหักออกจากไนโตรเจน 20 % จากสูตรที่ต้องการผสม ไนโตรเจนยังขาดอีก 16.9 กก. (20-3.1=16.9 กก.) เอาไปคำนวณหาจากแม่ปุ๋ยยูเรีย
ต้องการไนโตรเจน 16.9 กก. ใช้ยูเรีย 16.9 x 100 = 36.7 กก.
46
และต้องการโพแทสเซี่ยม 20 % ใช้โพแทสเซี่ยมคลอไรด์ 20 x 100 = 33.3 กก.
60
ดัง นั้น เพื่อให้ได้ปุ๋ยผสมที่มีธาตุอาหารไนโตรเจน 20 กก. ฟอสฟอรัส 8 กก. และโพแทสเซี่ยม 20 กก. หรือสูตร 20-8-20 จะต้องใช้แม่ปุ๋ย
- ปุ๋ยไดแอมโมเนียมฟอสเฟต 17.4 กก.
- ปุ๋ยยูเรีย 36.7 กก.
- ปุ๋ยโพแทสเซี่ยมคลอไรด์ = 33.3 กก.
รวมน้ำหนักปุ๋ยผสม 87.4 กก.
เนื่อง จากน้ำหนักปุ๋ยที่ผสมได้ไม่ครบ 100 กก. แสดงว่าปุ๋ยผสมที่ได้ มีสูตรสูงกว่าที่กำหนดไว้ ดังนั้น เมื่อนำปุ๋ยผสมนี้ไปใช้ก็ต้องลดอัตราปุ๋ยที่ควรจะใช้โดยวิธีคำนวณ เช่น ถ้าใช้ปุ๋ยสูตร 20-8-20 ต้นยางอายุ 15 เดือน ที่ปลูกในเขตปลูกยางเดิมเป็นดินร่วน ใช้อัตรา 150 กรัม/ต้น แต่เมื่อใช้ปุ๋ยผสมเองจะต้องใส่เพียง 130 กรัม/ต้น เท่านั้น
การคำนวณ น้ำหนักปุ๋ย 100 กก. ใช้อัตรา = 150 กรัม
น้ำหนักปุ่ย 87.4 กก. ใช้อัตรา = 150 x 87.4 = 131.10 กรัม/ต้น
100
หรือประมาณ 130 กรัม/ต้น
ดาวน์โหลด โปรแกรมคำนวณปุ๋ยผสม สูตรต่าง ๆ
ตารางสำเร็จรูปสำหรับผสมปุ๋ยเคมีไว้ใช้เอง
http://web.ku.ac.th/agri/fertilizer/table.htm
อุปกรณ์
เครื่องชั่งขนาด 25-50 กก., พลั่วหรือจอบ, ถังและขันพลาสติค, แม่ปุ๋ย
ขั้นตอนการผสมปุ๋ย
เลือกสูตรและอัตราการใช้กับพืชจากคำแนะนำ
คำนวณหาปริมาณ และชั่ง แม่ปุ๋ยแต่ละชนิดจากตาราง
นำแม่ปุ๋ยที่ชั่งได้เทลงบนพื้นเรียบและแห้ง ใช้จอบ, พลั่ว
ผสมคลุกเคล้าปุ๋ยในกองให้เข้ากัน นำบรรจุกระสอบเพื่อขนย้ายไปไร่นา
การหว่านหรือใส่ต้องใส่ปริมาณน้อยกว่าเดิมเพราะไม่มีสารตัวเติม
ข้อดี
- ตัดปัญหาเรื่องปุ๋ยปลอม/ปุ๋ยไม่ได้มาตรฐาน
- ใช้ปุ๋ยราคายุติธรรม มีทางเลือกเพิ่มขึ้น
- สูญเสียน้อยกว่า เพราะลงทุนถูกกว่า
- ถ้าชำนาญสามารถปรับสูตรได้
- มีอำนาจในการต่อรองราคา
- มีปุ๋ยใช้ทันเวลา
- เสียเวลาผสม (10 กระสอบ ใช้เวลาประมาณ 30 นาที)
- ผสมแล้วควรใช้ให้หมดใน 30 วัน
- แม่ปุ๋ยมีขายไม่ครบทั้ง 3 ชนิด
- แหล่งขายแม่ปุ๋ยมีน้อย
- ต้องอ่านเข้าใจจึงทำได้
- ต้องมีตารางผสมปุ๋ย
เพิ่มเติม
ปุ๋ยยางพาราก่อนเปิดกรีด
สูตรปุ๋ย
|
DAP (18-46-0)
|
MOP (0-0-60)
|
UREA
(46-0-0)
|
20-8-20
|
18
|
34
|
38
|
20-10-12
|
22
|
20
|
36
|
30-5-18
|
10
|
30
|
60
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น