วัสดุที่ใช้ทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพพร้อมคุณสมบัติและประโยชน์
- มูลไก่แห้ง ให้ธาตุอาหารหลักทั้ง 3 คือ ไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส และโพแทสเซี่ยม (ต้องเป็นมูลไก่ที่ไม่มีโซดาไฟ)
- ฮิวมัส คือ ซากพืชและซากสัตว์ที่ตายทับถมกันจนเน่าเปื่อยและสลายกลายเป็นอินทรีย์วัตถุ ที่มีสีคล้ำ-ดำ ฮิวมัสอาจจะทำมาจากการหมักของซากพืชเพียงอย่างเดียวก็ได้ เช่น หมักจากกากอ้อยหรือปาล์ม ฮิวมัสจะให้อินทรีย์วัตถุ, ธาตุอาหารหลัก, ธาตุอาหารรอง และจุลธาตุ
- ปุ๋ยหินฟอสเฟต จะให้ธาตุฟอสฟอรัส
- โดโลไมต์ จะให้ธาตุแคลเซียมและแมกนีเซียมเป็นหลัก ซึ่งใช้ปรับปรุงดินในระดับตื้น ๆ เรามักนิยมใช้โดโลไมต์เพื่อปรับปรุงดินที่เป็นกรดให้คืนสภาพได้ในเวลาที่รวด เร็ว
- ยิปซั่ม เป็นสารปรับปรุงดินใช้ปรับปรุงดินในระดับลึกลงไป และให้ธาตุอาหารที่สำคัญ คือแคลเซียม, กำมะถัน และแมกนีเซียม แหล่งของยิปซั่มมาจากธรรมชาติใต้ดิน หรืออาจทำมาจากส่วนที่เหลือจาการทำปุ๋ยหินฟอสเฟต
- แร่ธรรมชาติเพอร์ไลต์หรือภูไมต์ เป็นแร่ธรรมชาติที่เกิดจากภูเขาไฟเกรด A ในเมืองไทย มีองค์ประกอบหลักเป็นซิลิกาไดออกไซด์ (SiO2) เมื่อใส่ลงไปในดิน จะละลายและปลดปล่อยซิลิกาออกมาในรูปของกรดซิลิสิก ทำให้พืชสามารถนำไปใช้ได้ เนื่องจากภูไมต์จะละลายอย่างช้า ๆ จึงทำให้ดินร่วนซุย และอุ้มน้ำได้ดีมาก (ซิลิกาจะเข้าไปอยู่ในเซลล์พืช และช่วยให้พืชมีลำต้นแข็งแรง)
- แกลบเผาหรือเถ้าปาล์ม เป็นเสมือนบ้านหลังใหม่ของจุลินทรีย์ที่ย้ายมาจากน้ำหมักชีวภาพ อีกทั้งแกลบยังให้ธาตุอาหารโพแทสเซี่ยม และคาร์บอน
- รำละเอียด เป็นอาหารของจุลินทรีย์ ช่วยให้จุลินทรีย์มีชีวิตอยู่ได้
- น้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพ แหล่งของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อพืช
- กรณีไม่สามารถหาฮิวมัสได้ สามารถใช้ ดินท้องร่อง, ดินท้องคลอง, ดินเลนนากุ้ง, หน้าดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ หรือ ปุ๋ยหมักที่ใช้สูตร พ.ด.1 ทดแทน ได้เช่นกัน
- วัสดุหรือส่วนผสมนี้ ชาวสวนยางพารา(ที่มีความรู้เรื่องการผลิตปุ๋ยอินทรีย์อยู่บ้าง) บอกว่า"อัดแน่นด้วยคุณภาพ" จริง ๆ
วิธีหรือขั้นตอนการผลิต
1. ทำการเตรียมน้ำหมักชีวภาพไว้ก่อน
โดยหมักไว้ประมาณ 3 เดือน
2. นำมูลไก่แห้งมาบดด้วยเครื่องบดหรือจะไม่บดก็ได้เช่นกัน
3. ชั่งวัสดุทั้งหมด
คือ มูลไก่, แกลบดำ, ภูไมต์, รำละเอียด, ฟอสเฟต,
โดโลไมท์, ฮิวมัส และยิปซั่ม ให้ได้น้ำหนักตามที่ต้องการ
4. นำวัสดุทั้งหมดใส่ลงในเครื่องผสม(อาจใช้โม่ปูนแทนชั่วคราว)
เดินเครื่องผสมเพื่อทำการผสม เมื่อส่วนผสมเข้ากันดีแล้ว (ในขณะที่เครื่องกำลังหมุนอยู่)ใช้เครื่องพ่นหรือบัวรดน้ำต้นไม้ก็ได้
ราดน้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพ
สังเกตุดูจนได้ปุ๋ยที่มีความชื้นพอเหมาะ
จากนั้นก็ถ่ายออกจากเครื่องผสม
5. นำปุ๋ยใส่กระสอบ
โดยชั่งให้ได้น้ำหนัก 50 กิโลกรัม(หรือ 25
กิโลกรัม ตามต้องการ) และตั้งทิ้งไว้ในอาคารหรือที่ร่ม(ยังไม่ควรมัดปากกระสอบ)จนปุ๋ยเย็นตัวลง
6. มัดหรือเย็บปากกระสอบ
เราก็จะได้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพชนิดไม่อัดเม็ดพร้อมสำหรับการใช้งาน หรือจำหน่าย
ต่อไป
เมื่อผสมแล้วจะได้มาตรฐานปริมาณธาตุอาหาร
1.0-0.5-0.5 หรือใก้ลเคียง ดังนั้น
จึงควรตรวจสอบปริมาณธาตุอาหารเมื่อจำเป็นต้องใช้ข้อมูลอ้างอิง
นั่นคือ ต้นทุน:
691.00 บาทต่อปุ๋ย 4 กระสอบ(กระสอบละ 50 กิโลกรัม) หรือ 172.75 บาทต่อปุ๋ย 1 กระสอบ หรือ 3.46 บาทต่อกิโลกรัม
ต้นทุนการผลิตจะถูกลงกว่านี้อีกมากหากว่าเราสามารถหาวัสดุได้เองในท้องถิ่นบ้านเรา
ขั้นตอนการผลิตและสูตรส่วนผสมเหล่านี้ ได้มาจากเพื่อนผู้ซึ่งยังไม่ประสงค์ออกนาม
ซึ่งขณะนี้เพื่อนท่านนี้ เป็นที่ปรึกษาให้กับกลุ่มเษตรกรชาวสวนยางเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพชนิด
อัดเม็ดเพื่อจำหน่ายกับสมาชิก(ราคาถูก) และจำหน่ายบุคคลทั่วไป(ราคาปกติ) ตอนนี้ทราบว่าขายดีมากๆ
แถมผลิตไม่ทันกับความต้องการที่มาแรงมาก ครับสูตร นี้จะทำให้ได้ธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองเช่น แคลเซี่ยม, แมกนิเซียม และซัลเฟอร์ เข้ามาด้วยเนื่องจากใช้วัสดุ โดโลไมต์ และยิปซั่ม ในการผสม |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น