แปรเศษอาหารเป็นปุ๋ยด้วยใบไม้เเห้ง
จากรายงานของสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร แสดงให้เห็นว่า
ในปีงบประมาณ 2553
มีปริมาณขยะมูลฝอยที่จัดเก็บได้ในกรุงเทพมหานคร มากถึง 2 ,928,818.15
ตัน
ซึ่งหากคิดโดยเฉลี่ยแล้วก็พบว่าในแต่ละวันนั้นมีปริมาณขยะมูลฝอยที่จัดเก็บถึง
8,742.74
ตันจะว่าไปตัวเลขนี้ อาจจะไม่สร้างความเดือดร้อน จนทำให้คนหันมาตระหนักถึงความสำคัญเรื่องการลดปริมาณ และจัดการขยะมากนัก เพราะแต่ละวันที่เราทิ้งไป ก็มีพนักงานมาช่วยเก็บไปทิ้งให้ไกลห่างตัวอยู่เป็นกิจวัตร แต่วิกฤตน้ำท่วมใหญ่ปีนี้ เชื่อว่าน่าจะทำให้หลายคนเริ่มตระหนักถึงปัญหา และผลกระทบที่เกิดจากขยะไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องไม่มีคนมาช่วยเก็บขยะเหมือนก่อน เนื่องจากไม่สามารถเข้าถึงพื้นที่ได้ หรือกลิ่นน้ำเน่าเสียที่ส่งกลิ่นเน่าเหม็นให้สูดดมอยู่ทุกวัน ซ้ำร้าย หากเราไม่รีบหาทางแก้ไข นอกจากกลิ่นเน่าเหม็นแล้ว เจ้าขยะเหล่านี้ยังอาจกลายบ่มเพาะ และแพร่เชื้อโรคระบาดอย่างโรคฉี่หนู ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้อีกด้วย
ใครที่เป็นผู้ประสบภัย หรือไม่ประสบภัย แต่มีใจอาสา อยากจะทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม นอกจากการลงเงิน ลงแรง ช่วยแพ็คของ แบกของ ลุยน้ำกู้ภัย รวมถึงการช่วยปั้นก้อนจุลินทรีย์บอลแล้ว การรู้จักจัดการขยะในครัวเรือนตัวเอง ก็ถือว่ามีส่วนช่วยชาติได้ไม่น้อยเช่นกัน โดยอยากจะขอเริ่มต้นด้วยการแนะนำวิธีการจัดการเศษอาหารในครัวเรือนอย่างง่ายๆ ให้รู้จักกัน
1. หาถังมา 1 ใบ เจาะรูรอบๆด้านข้าง และด้านล่าง
2. ใส่เศษใบไม้ประมาณ ½ ถัง
3. ใส่เศษอาหารที่เหลือทิ้งแต่ละวันลงไป โดยควรเทน้ำจากเศษอาหารออก แล้วคลุกกับเศษใบไม้ให้เข้ากัน
4. หากใบไม้ยุบลง ก็ให้หามาเติมใหม่เรื่อยๆ โดยมีหลักอยู่ว่าเศษใบไม้จะต้องมากกว่าเศษอาหาร ทั้งนี้เพราะเราจะอาศัยจุลินทรีย์ใบไม้ให้ช่วยย่อยเศษอาหาร ทำให้ไม่ส่งกลิ่นเหม็นนั่นเอง
5. รดน้ำหมักชีวภาพเพื่อเพิ่มความชื้นเล็กน้อย
6. เมื่อเศษอาหารเต็ม ให้ปิดฝา และหาของหนักๆว่าทับฝาไว้
7. ทิ้งไว้ 1 เดือน ก็จะได้ปุ๋ยหมักที่มีคุณภาพ สามารถใช้บำรุงพืชผัก และต้นไม้ได้อย่างดี
วิธีนี้ เราสามารถเติมเศษอาหารลงไปได้ทุกวัน จนกว่าจะเต็มถัง เพียงแต่มีหลักสำคัญคือ ทุกครั้งที่เติม จะต้องคลุกเศษอาหารกับใบไม้ให้เข้ากันเสมอ นอกจากนี้ หากเป็นเศษอาหารจำพวกก้าง หรือกระดูกแข็งๆ ก็ควรป่นให้ละเอียดก่อน หรืออาจจะคัดออกไปทิ้งต่างหากก็ได้
ที่สำคัญควรวางถังไว้ในที่ร่ม และเป็นบริเวณที่สามารถปล่อยให้น้ำจากถังไหลซึมออกมาได้ เพราะหากในถังมีความชื้นมากเกินไป ก็อาจจะมีน้ำไหลออกมาจากด้านล่างบ้างเล็กน้อ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น