วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

แนวทางแก้ปัญหาราคายาง

แนวทางแก้ปัญหาราคายาง     http://www.thainr.com/th/images/spacer.gifhttp://www.thainr.com/th/images/spacer.gif 
ผลกระทบจากวิกฤติปัญหาราคายางตกต่ำ ส่งผลให้ที่ประชุมสภามนตรีไตรภาคียางพารา (ITRC) ประกอบด้วยสมาชิก 3 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย มีมาตรการลดการส่งออกยาง 3 แสนตัน นับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555-มีนาคม 2556 หวังเร่งรัดกระตุ้นราคาในตลาดโลกให้ปรับตัวสูงขึ้น หลังพบว่าเกิดจากการเทขายสัญญาที่ตลาดซื้อขายล่วงหน้ากรุงโตเกียว  ประเทศญี่ปุ่น
         
"
ปัญหาเกิดจากการซื้อขายล่วงหน้าที่เทขายสัญญา โดยเฉพาะที่ตลาดซื้อขายล่วงหน้ากรุงโตเกียว ซึ่งกดดันทำให้การซื้อขายส่งมอบจริงในตลาดโลก โดยเฉพาะประเทศจีนก็มีการปรับตัวลดลง ทำให้ชาวสวนยางของทั้ง 3 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ต้องได้รับความเดือดร้อน จากกิโลละ 100 กว่าบาท เหลือ 70 บาทสำหรับยางแผ่นดิบชั้น 3"
         
เยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ ผู้บริหารบริษัท ร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศ จำกัด (IRCo) ในฐานะผู้ประสานงาน ติดตามวิเคราะห์สถานการณ์ยางในตลาดโลกและให้คำแนะนำแก่ทั้ง 3 ประเทศวิเคราะห์ผลกระทบที่เป็นสาเหตุทำให้ราคายางพาราตกต่ำในช่วงนี้ พร้อมกับชี้ว่า มีทางออกเดียวคือ การลดการส่งออกยางพาราสู่ตลาดโลกจำนวน 3 แสนตันของทั้ง 3 ประเทศในฐานะผู้ส่งออกยางพารารายใหญ่กว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของยางทั้งโลก อันจะมีผลทำให้ราคายางพาราทั้งในประเทศและตลาดโลกหยุดการปรับตัวลดลง
         
"
เป็นนโยบายที่ถูกต้องของรัฐบาลไทยจะชะลอการส่งออกยางในช่วง ไตรมาสที่ 4 แล้วไปขายยางในช่วงหน้าแล้งปีหน้า ซึ่งทุกคนก็ทราบดีว่าต้นยางในภาคใต้ของไทยจะผลัดใบในช่วงมีนาคมถึงต้น พฤษภาคม หากรัฐบาลสามารถเก็บยางตามโควตาที่เราตกลงไว้กับมาเลเซียและอินโดนีเซีย ผมมั่นใจว่า ในช่วงหน้าแล้งปีหน้า ราคายางในตลาดโลกจะปรับตัวสูงขึ้นแน่นอน เกษตรกรถ้าจะกรีดมากก็เก็บไว้ให้ดี รับรองว่าไม่ขาดทุนแน่นอน"
         
ด้านสุจินต์ แม้นเหมือน ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร กล่าวในงานแถลงข่าวถึงมาตรการดังกล่าว โดยระบุว่า นับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555-31 มีนาคม 2556 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ระงับการส่งออกยางพาราทุกชนิด โดยอาศัยพระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ.2542 เพื่อลดปริมาณผลผลิตยางธรรมชาติออกสู่ตลาด ซึ่งจะช่วยผลักดันราคายางในตลาดโลกให้ขยับตัวสูงขึ้น เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง โดยช่วงทดลองห้ามส่งออก 3 เดือนแรก กระทรวงเกษตรฯ ร่วมกับประเทศสมาชิกตั้งเป้าลดปริมาณการส่งออกยางช่วง 3 เดือนแรกร้อยละ 60 หรือไม่น้อยกว่า 1.8 แสนตัน ส่วนที่เหลือ 1.2 แสนตันจะดำเนินการใน 3 เดือนต่อไป หากราคายังไม่กระเตื้องขึ้นจะขยายระยะเวลาและกำหนดมาตรการเพิ่มอีก จนกว่าจะบรรลุเป้าหมาย ณ ระดับราคาที่เป็นธรรมต่อผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
         
"
ในส่วนของประเทศไทย กระทรวงเกษตรฯ ได้ขอความร่วมมือให้บริษัทผู้ส่งออกลดปริมาณการส่งออกยางลงจากเดิม 10% โดยใช้ฐานการส่งออกของแต่ละบริษัทในปี 2554 เป็นตัวตั้งตามที่ตกลงร่วมระหว่างประเทศสมาชิก หรือประมาณเดือนละ 3 หมื่นตัน ส่วนยางที่เหลือให้เก็บไว้ในสต็อก รอนำออกจำหน่าย เมื่อราคาตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น"
         
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยางเผยต่อว่ าขณะเดียวกันกระทรวงเกษตรฯ ยังมีแผนเร่งส่งเสริมให้เกษตรกรโค่นยางเก่าหรือโค่นต้นยางที่มีอายุมากเพื่อ ปลูกแทน เป้าหมาย 1.5 แสนไร่ ป้อนไม้ยางเข้าอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ที่มีความต้องการสูง ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้ผลผลิตยางหายไปจากระบบประมาณ 4.5 แสนตัน สำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามที่กระทรวงเกษตรฯ ประกาศบังคับใช้หรือลักลอบส่งออกยาง ถือว่ามีความผิดตามกฎหมายภายใต้พระราชบัญญัติควบคุมยางฯ 
         
นอกจากนั้น สถาบันวิจัยยางยังได้ร้องขอให้เกษตรกรร่วมใจลดการผลิต ครองชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเป็นปัจจัยเสริมให้ราคาเป้าหมายที่ทุกฝ่ายยอมรับบรรลุเป้าหมายเร็วขึ้น ถ้าภาคเกษตรกร ผู้ประกอบการและภาครัฐร่วมมือกันอย่างจริงจัง ลดการผลิตและจำกัดการส่งออก โดยเกษตรกรอาจใช้วิธีลดจำนวนต้นกรีดลง หรือกรีดพื้นที่น้อยลงโดยไม่เดือดร้อนต่อการครองชีพตามปกติ
         
อย่างไรก็ตาม การดำเนินมาตรการต่างๆ ในการแก้ไขปัญหาราคายางพาราร่วมกันของ ITRC จะมีคณะกรรมการประเมินผลความคืบหน้าตลอดทุกเดือน ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากทั้ง 3 ประเทศ ประเทศละ 4 คน เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการดังกล่าว  โดยการประเมินผลความคืบหน้าในการดำเนินมาตรการดังกล่าวสิ้นเดือนกันยายน 2555 นี้
   
    link 
ที่มา : หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก (13/09/2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น