กรมวิชาการเกษตรโชว์ผลงานปรับปรุงพันธุ์ยางพาราพันธุ์ใหม่ "เฉลิมพระเกียรติ 984" สำเร็จ เผยศักยภาพเติบโตดี เปิดกรีดได้เร็ว ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 329.6 กก.ต่อไร่ต่อปี มากกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ 53% เร่งขยายกิ่งพันธุ์พร้อมรองรับความต้องการเกษตรกร
นาย
จิรากร โกศัยเสวี อธิบดีกรมวิชาการเกษตร บอกว่า
จากการที่กรมวิชาการเกษตรได้ดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ยางพารามาอย่าง
ต่อเนื่อง ทั้งพันธุ์ยางที่ให้ผลผลิตน้ำยางสูง พันธุ์ยางที่ให้เนื้อไม้สูง
พันธุ์ยางที่ให้ทั้งน้ำยางและเนื้อไม้สูง มีความต้านทานโรคสำคัญ เช่น
ราแป้ง ใบร่วงไฟทอปธอรา และปรับตัวได้ดีในสภาพแวดล้อมต่างๆ
"ขณะนี้กรมประสบผลสำเร็จในการพัฒนาพันธุ์ยางพาราพันธุ์ใหม่เพิ่มอีก 1 พันธุ์แล้ว คือ ยางพาราพันธุ์เฉลิมพระเกียรติ 984 (Chalerm Prakiat 984) ซึ่งได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นจากพันธุ์ยาง 2 เป็นพันธุ์ยางชั้น 1 ในคำแนะนำพันธุ์ยางปี 2554
เป็นยางที่มีศักยภาพให้ผลผลิตน้ำยางสูง
คาดจะช่วยให้ชาวสวนยางพารามีโอกาสเลือกใช้พันธุ์ยางเพิ่มขึ้น
ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สร้างอาชีพ สร้างรายได้อย่างมั่นคงด้วย"
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร แจง
ทั้งนี้ ยางพาราพันธุ์เฉลิมพระเกียรติ 984 นี้ เดิมชื่อ RRI-CH-35-1396 เกิดจากการผสมระหว่างยางแม่พันธุ์ PB5/51(มาเลเซีย) กับพ่อพันธุ์ RRIC101 (ศรี
ลังกา) ที่ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา
โดยทีมนักวิจัยได้คัดเลือกแล้วนำไปปลูกเปรียบพันธุ์ยางขั้นต้น
และเปรียบเทียบพันธุ์ยางขั้นปลาย ทั้งยัง ประเมินระดับความต้านทานโรค
เพื่อคัดเลือกต้นที่มีศักยภาพซึ่งพบว่ายางพันธุ์นี้
มีการเจริญเติบโตระยะก่อนเปิดกรีดดี
มีค่าเฉลี่ยขนาดเส้นรอบวงลำต้นโตกว่าพันธุ์เปรียบ คือพันธุ์ RRIM600 ที่ 7-10% และมีค่าเฉลี่ยขนาดเส้นรอบวงที่เพิ่มแต่ละปีระหว่าง 6-8.2 สูงกว่าพันธุ์ RRIM600 ที่ 8-15% ทำให้เปิดกรีดได้เร็ว และมีจำนวนต้นยางที่เปิดกรีดได้มากตั้งแต่ปีแรกของการเปิดกรีด
“ที่สำคัญพันธุ์นี้ยังให้ผลผลิตเนื้อยางแห้งสูง โดยในพื้นที่ปลูกยางใหม่ เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีค่าเฉลี่ย 8 ปี 329.6 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี มากกว่าพันธุ์ RRIM600 ที่ให้ผลผลิต 235.1 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี คิดเป็น 53 % ทั้ง
เป็นพันธุ์ที่มีเปลือกหนา จำนวนวงท่อน้ำยางมาก
ต้านทานโรคราแป้งและใบร่วงไฟทอปธอราในระดับปานกลาง
การแตกกิ่งสมดุลในระดับสูง
ทำให้ปลูกได้ในพื้นที่ลาดชันและมีระดับน้ำใต้ดินสูง” อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว
น.ส.กรรณิการ์
ธีระวัฒนะสุข นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา
กรมวิชาการเกษตร หนึ่งในทีมนักปรับปรุงพันธุ์ยางพาราพันธุ์เฉลิมพระเกียรติ 984 กล่าวเพิ่มเติมว่า <b>เบื้องต้นคาดว่าเกษตรกรที่เลือกปลูกยางพันธุ์นี้ จะได้รับผลผลิตเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 50 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี และทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่า 5
หมื่นบาทต่อไร่ต่อปีปัจจุบันสถาบันวิจัยยางได้มอบหมายให้ศูนย์วิจัยยาง
ฉะเชิงเทรา ศูนย์วิจัยยางหนองคาย ศูนย์วิจัยยางสงขลา
ศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรบุรีรัมย์
เร่งผลิตกิ่งตายางเพื่อส่งมอบให้เกษตรกรนำไปขยายพันธุ์เพิ่มปริมาณมากขึ้น
และปลูกกันแพร่หลายมากขึ้น
“ยางพันธุ์เฉลิมพระเกียรติ 984 มีลักษณะการแตกกิ่งและทรงพุ่มที่สมดุลดีกว่าพันธุ์สถาบันวิจัยยาง 251
เกษตรกรในพื้นที่ที่มีข้อจำกัด เช่น พื้นที่ลาดชัน
หรือพื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง ก็ปลูกได้
แต่เกษตรกรที่เลือกปลูกยางพันธุ์นี้ ไม่ควรใจร้อนเร่งเปิดกรีดยางต้นเล็ก
หรือเปิดกรีดยางที่ไม่ได้ขนาด และไม่ควรกรีดยางถี่เกินไป เช่น กรีด 3 วันเว้นวัน จะทำให้ต้นยางเกิดอาการเปลือกแห้ง ทรุดโทรมเร็วขึ้น และมีอายุการใช้งานสั้นลง” น.ส.กรรณิการ์ กล่าว
ที่มา : คม ชัด ลึก
สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร สนับสนุนการวิจัย “การศึกษาค่าดัชนีชี้วัดความทนแล้ง” เพื่อนำไปใช้คัดเลือกพันธุ์ให้ได้พันธุ์ยางที่สามารถทนต่อสภาพแห้งแล้ง เป็นทางเลือกสำหรับเกษตรกรในการเลือกใช้พันธุ์ยางที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางพาราได้
นางสาวนภาวรรณ เลขะวิพัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยยางหนองคาย กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า สถาบันวิจัยยางได้มอบหมายให้นักวิชาการของศูนย์วิจัยยางหนองคายทำการศึกษา วิจัยดัชนีชี้วัดความทนแล้งของยางพารา โดยศึกษาจากลักษณะทางสรีระวิทยาและการแสดงออกของต้นยางที่เกี่ยวกับการทน แล้งเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการคัดเลือกพันธุ์ยางทนแล้ง ซึ่งถือเป็นก้าวใหม่ของการวิจัยยางพารา ในส่วนของลักษณะทางสรีระวิทยาของพันธุ์ยางที่ศึกษา ได้แก่ ค่าชลศักย์ของน้ำในใบยาง(Leaf water potential) การชักนำการเปิด-ปิดปากใบ(Stomatal conductance) และค่าเปอร์เซ็นต์การชักนำการเกิดฟองอากาศในท่อไซเล็ม (Percent Loss of conductivity ; PLC)
เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างค่าชลศักย์ของน้ำในใบ กับ ค่าการสูญเสียความสามารถในการลำลียงน้ำของไซเล็ม และค่าการชักนำการเปิด-ปิดปากใบ จะได้ค่าที่เรียกว่า Hydraulic safety margin หรือช่วงระดับศักย์ของน้ำในใบที่เปลี่ยนแปลงไปโดยพืชยังสามารถดำเนินกิจกรรม ได้ตามปกติ
หากค่า Hydraulic safety margin ที่ได้มีค่ามาก หรือมีช่วงกว้าง แสดงว่าพืชมีการปรับตัวในสภาพแล้งด้วยการลดการคายน้ำได้ดี และมีความทนทานต่อการเกิดฟองอากาศในไซเล็มเมื่อเจอสภาวะแห้งแล้ง ซึ่งค่านี้สามารถนำมาใช้เป็นดัชนีทางสรีระวิทยาที่บ่งชี้ความทนแล้งของ ยางพาราได้
ถ้านำค่าดัชนีชี้วัดความทนแล้งมาปรับใช้ในการคัดเลือกพันธุ์ยางตั้งแต่ ต้นยางอายุ 1-2 ปี จะสามารถลดระยะเวลาการคัดเลือกพันธุ์ยางที่ทนทานต่อความแห้งแล้งลงได้อีก อย่างน้อย 7 ปี ซึ่งจะได้ทั้งพันธุ์ยางทนแล้งและให้ผลผลิตน้ำยางสูง หากศึกษาร่วมกับวิธีทางเทคโนโลยีชีวภาพถึงขั้นการทำแผนที่พันธุกรรม และได้เครื่องหมายโมเลกุลที่เกี่ยวกับการทนแล้ง ก็สามารถนำมาใช้คัดเลือกพันธุ์ยางทนแล้งและให้ผลผลิตน้ำยางสูงด้วยตั้งแต่ ยังเป็นยางต้นเล็ก ไม่ต้องรอจนถึงการกรีดให้ได้ผลผลิตครบรอบอายุยาง ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการศึกษาวิจัยและคัดเลือกพันธุ์ยางได้ค่อนข้างมาก
นางสาวนภาวรรณกล่าวอีกว่า จากการศึกษาเปรียบเทียบค่าดัชนีชี้วัดความทนแล้งระหว่างยางพาราพันธุ์สถาบัน วิจัยยาง 251 (RRIT 251) กับยางพันธุ์เฉลิมพระเกียรติ 984 (พันธุ์สถาบันวิจัยยาง 408) พบว่า ยางพันธุ์เฉลิมพระเกียรติ 984 มีค่า Hydraulic safety margin ที่มีช่วงกว้างมากกว่า พันธุ์ RRIT 251 นั่นคือพันธุ์เฉลิมพระเกียรติ 984 มีความทนทานต่อสภาวะแห้งแล้งได้ดีกว่าพันธุ์สถาบันวิจัยยาง 251 ซึ่งนอกจากยางพันธุ์เฉลิมพระเกียรติ 984 จะให้ผลผลิตน้ำยางสูงผลผลิต 8 ปีกรีดเฉลี่ยอยู่ที่ 350 กิโลกรัม/ไร่/ปี ยังเหมาะสมสำหรับปลูกในพื้นที่ปลูกยางใหม่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคเหนือ
“การศึกษาค่าดัชนีชี้วัดความทนแล้งของยางพารานี้ นับว่าเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดระยะเวลาการดำเนินงานวิจัยขั้นตอนพื้นฐาน และช่วยประหยัดงบประมาณภาครัฐในการปรับปรุงพันธุ์ยางได้ ที่สำคัญยังได้พันธุ์ยางที่ทนต่อสภาพแห้งแล้งและเหมาะสมกับเขตปลูกยางใหม่ ถ้าหากนำพันธุ์ที่ได้จากการคัดเลือกให้ผลผลิตน้ำยางสูง และมีความทนแล้งมาปลูกทดแทนยางพันธุ์อาร์อาร์ไอเอ็ม600 (RRIM 600) ก็จะทำให้เกษตรกรชาวสวนยาง และ ประเทศไทยได้รับผลผลิตยางและมีรายได้จากการผลิตยางพาราเพิ่มมากขึ้น” ผอ.ศูนย์วิจัยยางหนองคายกล่าว
หากสนใจข้อมูลเกี่ยวกับ “การศึกษาค่าดัชนีชี้วัดความทนแล้ง” สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วิจัยยางหนองคาย จังหวัดหนองคาย โทร. 0-4242-1714 หรืออีเมล์ nrrc_nr@yahoo.com
ดัชนีชี้วัดความทนแล้งของพันธุ์ยางพารา - เกษตรทั่วไทย
วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม 2556 เวลา 00:00 น.
สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร สนับสนุนการวิจัย “การศึกษาค่าดัชนีชี้วัดความทนแล้ง” เพื่อนำไปใช้คัดเลือกพันธุ์ให้ได้พันธุ์ยางที่สามารถทนต่อสภาพแห้งแล้ง เป็นทางเลือกสำหรับเกษตรกรในการเลือกใช้พันธุ์ยางที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางพาราได้
นางสาวนภาวรรณ เลขะวิพัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยยางหนองคาย กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า สถาบันวิจัยยางได้มอบหมายให้นักวิชาการของศูนย์วิจัยยางหนองคายทำการศึกษา วิจัยดัชนีชี้วัดความทนแล้งของยางพารา โดยศึกษาจากลักษณะทางสรีระวิทยาและการแสดงออกของต้นยางที่เกี่ยวกับการทน แล้งเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการคัดเลือกพันธุ์ยางทนแล้ง ซึ่งถือเป็นก้าวใหม่ของการวิจัยยางพารา ในส่วนของลักษณะทางสรีระวิทยาของพันธุ์ยางที่ศึกษา ได้แก่ ค่าชลศักย์ของน้ำในใบยาง(Leaf water potential) การชักนำการเปิด-ปิดปากใบ(Stomatal conductance) และค่าเปอร์เซ็นต์การชักนำการเกิดฟองอากาศในท่อไซเล็ม (Percent Loss of conductivity ; PLC)
เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างค่าชลศักย์ของน้ำในใบ กับ ค่าการสูญเสียความสามารถในการลำลียงน้ำของไซเล็ม และค่าการชักนำการเปิด-ปิดปากใบ จะได้ค่าที่เรียกว่า Hydraulic safety margin หรือช่วงระดับศักย์ของน้ำในใบที่เปลี่ยนแปลงไปโดยพืชยังสามารถดำเนินกิจกรรม ได้ตามปกติ
หากค่า Hydraulic safety margin ที่ได้มีค่ามาก หรือมีช่วงกว้าง แสดงว่าพืชมีการปรับตัวในสภาพแล้งด้วยการลดการคายน้ำได้ดี และมีความทนทานต่อการเกิดฟองอากาศในไซเล็มเมื่อเจอสภาวะแห้งแล้ง ซึ่งค่านี้สามารถนำมาใช้เป็นดัชนีทางสรีระวิทยาที่บ่งชี้ความทนแล้งของ ยางพาราได้
ถ้านำค่าดัชนีชี้วัดความทนแล้งมาปรับใช้ในการคัดเลือกพันธุ์ยางตั้งแต่ ต้นยางอายุ 1-2 ปี จะสามารถลดระยะเวลาการคัดเลือกพันธุ์ยางที่ทนทานต่อความแห้งแล้งลงได้อีก อย่างน้อย 7 ปี ซึ่งจะได้ทั้งพันธุ์ยางทนแล้งและให้ผลผลิตน้ำยางสูง หากศึกษาร่วมกับวิธีทางเทคโนโลยีชีวภาพถึงขั้นการทำแผนที่พันธุกรรม และได้เครื่องหมายโมเลกุลที่เกี่ยวกับการทนแล้ง ก็สามารถนำมาใช้คัดเลือกพันธุ์ยางทนแล้งและให้ผลผลิตน้ำยางสูงด้วยตั้งแต่ ยังเป็นยางต้นเล็ก ไม่ต้องรอจนถึงการกรีดให้ได้ผลผลิตครบรอบอายุยาง ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการศึกษาวิจัยและคัดเลือกพันธุ์ยางได้ค่อนข้างมาก
นางสาวนภาวรรณกล่าวอีกว่า จากการศึกษาเปรียบเทียบค่าดัชนีชี้วัดความทนแล้งระหว่างยางพาราพันธุ์สถาบัน วิจัยยาง 251 (RRIT 251) กับยางพันธุ์เฉลิมพระเกียรติ 984 (พันธุ์สถาบันวิจัยยาง 408) พบว่า ยางพันธุ์เฉลิมพระเกียรติ 984 มีค่า Hydraulic safety margin ที่มีช่วงกว้างมากกว่า พันธุ์ RRIT 251 นั่นคือพันธุ์เฉลิมพระเกียรติ 984 มีความทนทานต่อสภาวะแห้งแล้งได้ดีกว่าพันธุ์สถาบันวิจัยยาง 251 ซึ่งนอกจากยางพันธุ์เฉลิมพระเกียรติ 984 จะให้ผลผลิตน้ำยางสูงผลผลิต 8 ปีกรีดเฉลี่ยอยู่ที่ 350 กิโลกรัม/ไร่/ปี ยังเหมาะสมสำหรับปลูกในพื้นที่ปลูกยางใหม่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคเหนือ
“การศึกษาค่าดัชนีชี้วัดความทนแล้งของยางพารานี้ นับว่าเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดระยะเวลาการดำเนินงานวิจัยขั้นตอนพื้นฐาน และช่วยประหยัดงบประมาณภาครัฐในการปรับปรุงพันธุ์ยางได้ ที่สำคัญยังได้พันธุ์ยางที่ทนต่อสภาพแห้งแล้งและเหมาะสมกับเขตปลูกยางใหม่ ถ้าหากนำพันธุ์ที่ได้จากการคัดเลือกให้ผลผลิตน้ำยางสูง และมีความทนแล้งมาปลูกทดแทนยางพันธุ์อาร์อาร์ไอเอ็ม600 (RRIM 600) ก็จะทำให้เกษตรกรชาวสวนยาง และ ประเทศไทยได้รับผลผลิตยางและมีรายได้จากการผลิตยางพาราเพิ่มมากขึ้น” ผอ.ศูนย์วิจัยยางหนองคายกล่าว
หากสนใจข้อมูลเกี่ยวกับ “การศึกษาค่าดัชนีชี้วัดความทนแล้ง” สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วิจัยยางหนองคาย จังหวัดหนองคาย โทร. 0-4242-1714 หรืออีเมล์ nrrc_nr@yahoo.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น