วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ขายกิ่งตาพันธุ์ยาง 984

ประกาศ

มีกิ่งตาพันธุ์ยางเฉลิมพระเกียรติ 984 ขายสนใจติดต่อ 0817681231


วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ความแตกต่างแปลงกิ่งตากับยางตาสอย

ความแตกต่างแปลงกิ่งตากับยางตาสอย

7-กิ่งตาคุณภาพดี
แปลงกิ่งตา หมายถึง ตายางพาราที่ปลุกไว้ทำหรับเอาตามาติดขยายพันธุ์  มีการคัดเลือกสายพันธุ์ที่ถูกต้อง มีการดูแลบำรุงรักษาอย่างดี เพื่อให้กิ่งตามีความสมบูรณ์ ดังนั้นกล้ายางที่ใช้กิ่งตาดี มีคุณภาพจะมีข้อดีดังนี้
- กล้ายางตรงตามสายพันธุ์
- ต้นโตเร็ว มีความสมบูรณ์ และทนโรค
- ออกดอกหรือออกลูกช้า เนื่องจากกิ่งตาที่ได้จากแปลงกิ่งตา จะไม่มีฮอร์โมนเร่งการออกดอกติดมาด้วย
- ให้น้ำยางได้มาก สูงตามลักษณะของสายพันธุ์
กิ่งตาสอย
ยางตาสอย หมายถึง ตายางพาราที่ได้จากการตัดหรือสอยเอามาจากยางต้นใหญ่ เพื่อเอาไปติดกับต้นกล้ายางตาเขียว, ยางชำถุงหรือยางบัดดิ้งก็แล้วแต่…ซึ่งยางตาสอยจะมีผลเสียต่อเกษตรกรในระยะ ยาวด้วยเหตุดังนี้
- ยางตาสอย..ปลูกแล้วอาจจะได้ไม่ตรงสายพันธุ์
- ยางตาสอย..ปลูกแล้วต้นโตช้า อ่อนแอไม่ทนต่อโรค
- ยางตาสอย…ปลูกแล้วออกลูกเร็ว เพราะมีฮอร์โมนเร่งการออกลูกติดมาจากต้นแม่ที่ไปสอยมา
- ยางตาสอย…ปลูกแล้วให้น้ำยางน้อย  น้ำยางที่ได้อาจลดลง 20-30% หรือบางต้นไม่มีน้ำยางเลย
ข้อควรระวัง!… เกษตรกรที่ลดต้นทุนค่าต้นกล้า โดยหาซื้อต้นกล้าราคาถูกแต่ไม่ได้คำนึงถึงคุณภาพและแหล่งที่มาของกิ่งตานั้น อาจจะเกิดผลเสียกับท่านในระยะยาว


ที่มา http://coolhandpara.com/

ข้อมูลยางพันธุ์มาเล PB 350

พันธุ์ยาง PB350
PB 350 สายพันธุ์นี้ถูกพัฒนามาจากสายพันธุ์ 600 เดิม ซึ่งโครงสร้างต้นทั้งหมดจะอยู่ในรูปแบบของไม้ซุงลักษณะใบจะคล้ายๆ กับ RRIM 600 แต่ลำต้นจะมีขนาดใหญ่กว่าเมื่ออายุ 4 ปี

เราสามารถสังเกตถึงความแตกต่างโดยสิ้นเชิง ข้อดีของยางพาราสายพันธุ์ PB 350 นี้คือ
 
ยางพันธุ์มาเลเซีย  PB 350
 
1. PB 350 แก้ปมด้อยของสายพันธุ์ RRIM 600 ทั้งหมด เช่น ทนต่อการติดเชื้อราที่มาจากทางดินและทางอากาศได้ดีมาก หลายเท่าตัว เช่น เชื้อราไฟทอปเธอร่า เป็นต้น
2. PB 350 สายพันธุ์นี้ถูกพัฒนาเพื่อให้สามารถอยู่ได้ในสภาพพื้นที่ที่แล้งหรือขาดน้ำ ได้ดีในระดับหนึ่ง ซึ่งสายพันธุ์นี้จะมีอัตราอยู่รอดดีกว่าสายพันธุ์ RRIM 600 ถึง 3 เท่า เนื่องจากโครงสร้างลำต้นทั้งหมดจะอยู่ในลักษณะของไม้ซุง ซึ่งภาษาท้องถิ่นมาเลเซียเรียกว่า Klon Balak หรือ โคลนนิ่งไม้ซุงนั่นเอง
3. PB 350 มีระบบรากแก้วที่ยาวกว่า สายพันธุ์ RRIM 600 ถึง 3 เท่า ทำให้การหล่อเลี้ยงธาตุอาหาร ของท่ออาหารและน้ำ Sylem และ Ploem มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดใหญ่ และระบบรากสามารถเดินหาอาหารได้ลึกและไกลกว่าสายพันธุ์ RRIM 600
4. PB 350 หน้ายางนิ่ม ไม่หนาและไม่บางจนเกินไป ข้อดี ไม่ทำให้เกิดภาวะหน้ายางตาย หรือหน้ายางแตก
5. ในสภาวะ ดิน ฟ้า อากาศ ที่เหมาะสม PB 350 นี้ สามารถเปิดหน้ายางได้เพียงแค่ปีที่ 5 เท่านั้น จะเร็วกว่าสายพันธุ์ RRIM 600 ถึง 2 ปี ทำให้เกษตรกรประหยัดเวลามากยิ่งขึ้น
6. PB 350 โตไว โตเร็ว ลักษณะโดยกายภาพแล้ว จะให้ขนาดความใหญ่ลำต้น ปีละ 2 นิ้ว หรือ 4 ปี 8 นิ้ว หรือ 50 เซนติเมตรรอบวงนั่นเอง
7. ช่วงอายุการให้ผลผลิตสามารถให้ผลผลิตได้ถึงปีที่ 40 จากการวิจัยสายพันธุ์ PB 350 จะชะลอให้หรือคงที่ Stable เมื่ออายุต้นอยู่ปีที่ 35 เป็นต้นไป
8. การให้ผลผลิต จากข้อมูลขององค์กรพัฒนาสายพันธุ์ยางพาราแห่งมาเลเซีย หรือ (Lembaga Getah Malaysia, LGM) สามารถให้ผลผลิตถึง 450 กิโลกรัม/ไร่/ปี (กรีด 120 วัน/ปี)
9. การพัฒนาความเข้มข้น (intensity) ของน้ำยาง PB 350 อยู่ที่ 38-40% คำนวณจากเปอร์เซ็นน้ำยางแห้ง ถือว่าอยู่ในเกณฑ์สูงสุด
10. PB 350 สามารถปลูกได้ในที่เนินเขาความชันไม่เกิน 30 องศา และพื้นที่ราบลุ่ม
หมายเหตุ ความสามารถต่างๆ เหล่านี้ของ Pb350 ได้รับการพิจารณาปลูกอย่างกว้างขวางในมาเลเชีย

ที่มา...http://www.yangpantae.com/PB350.php

ยางพันธุ์ดีพีบี 350(PB 350)

PB 350 
 
เหตุ ใดจึงมีหลายคนอยากปลูก PB350 เพราะว่ายางมาเลเซียสายพันธุ์นี้ ถูกพัฒนามาจากสายพันธุ์ 600 เดิม ซึ่งโครงสร้างลำต้นจะอยู่ในรูปแบบของไม้ต้นใหญ่คล้ายๆ ซุง ลักษณะใบจะคล้ายๆ กับ RRIM 600 เมื่ออายุเริ่มเข้าปีที่ 4 ลำต้นจะมีขนาดใหญ่กว่า RRIM 600 อย่างชัดเจน
 

 
ภาพจริงจากพีดีพันธุ์ยางยางพันธุ์ดี PB350 ปี2554

 
PB 350

 
PB 350 อายุ 8 เดือน ปลูกปี 2554 โตเร็วมากที่นครพนม เหมาะจริงๆ ภาคอีสาน
ต้านโรคดี  พีดีพันธุ์ยางขอแสดงความยินดีและขอบคุณที่ เลือกพันธุ์คุณภาพกับเรา
 
ยางพันธุ์ดี PB350
 
PB350 ปลูก ปี 2554 อายุ 9 เดือน  พิสูจน์แล้วโตเร็วต้านโรคทนแรง ปลูกจังหวัด สกลนคร

ภาพนี้ลูกค้า พีดีพันธุ์ ยางบอกกับทางทีมงานว่ายังไม่ได้ใส่ปุ๋ยเลย แล้วปลูกในสวนกล้วย
ไปด้วยกันได้ดี ท่านใดยังไม่เคยปลูกพันธุ์นี้ต้องลองดูครับ ไม่ผิดหวัง
ครั้งหน้าจะเก็บรูปมาฝาก ทีมงาน โฮมเกษตรอีกครั้ง
ลูกผสมระหว่าง RRIM 600 + Pb 335
       
ความสามารถที่แตกต่าง
  • แก้ปมด้อยของสายพันธุ์ RRIM 600 ทั้งหมด เช่น ทนต่อเชื้อราไฟทอปเทอร่า ที่มากับฝนใหญ่ทั้งทางบกและทางอากาศได้ดีมาก หลายเท่าตัว
  • ความสามารถทนอยู่ได้ในสภาพพื้นที่ที่แล้งหรือขาดน้ำในระดับที่ดีกว่าสายพันธุ์ RRIM 600 หรือดีกว่า 3 เท่า ทั้งนี้เนื่องจากโครงสร้างลำต้นจะอยู่ในลักษณะของไม้ป่า มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้นานกว่าและดีกว่า
  • ระบบรากแก้ว จะมีความยาวกว่า สายพันธุ์ RRIM600 3 เท่า เนื่องจากลักษณะลำต้นที่ใหญ่แข็งแรงคล้ายไม้ป่า ระบบรากย่อยก็เช่นเดียวกัน มีรากฝอยและรากแขนงที่ยาว ขนาดของรากใหญ่ แผ่กว้าง ความสามารถในดูดน้ำและอาหารมาหล่อเลี้ยงลำต้นได้ดีและไกลกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ
  • เปลือกยางไม่หนา และไม่บางจนเกินไป มีขนาดพอเหมาะ หน้ายางนิ่ม ความเหมาะสมของเปลือกไม่ก่อให้เกิดสภาวะหน้ายางแห้ง หน้าตาย หรือหน้ายางแตก

 ยางพันธุ์ดี PB350
 
PB 350 อายุ 8 เดือนกว่า ปลูกปี2554 จังหวัดน่าน 
 
ภาพ นี้ลูกค้าพีดีพันธุ์ยางบอกกับทางทีมงานว่า PB 350 เหมาะกับพื้นที่ภูเขาดี ท้านลมทนแรงระบบรากเหมาะกับดินภูเขา ถ้าเป็นลักษณะพื้นที่ภูเขาอยากให้ผู้สนใจได้ลองปลูกดูครับ ทีมงานโฮมเกษตรขอขอบคุณภาพสวยๆ จากทีมงานจังหวัดน่านครับ
 
  • ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูกยาง สามารถเปิดกรีดได้ในปีที่ 5 หลังปลูกเท่านั้น จะเปิดกรีดได้เร็วกว่าสายพันธุ์ RRIM 600 ถึง1- 2 ปี ลดภาระการเลี้ยงดูให้สั้นลงและทำเงินได้เร็วกว่า
  • ลักษณะการเจริญเติบโตของลำต้น ขึ้นอยู่กับสัดส่วนของลำต้น 
    • ได้ทำการวัดขนาดโตของลำต้นเมื่อได้อายุ 2 ปี เริ่มที่ 15 ซม.
    • วัดหลังจากครบ 1 ปี ลำต้นโตที่ 28.8 ซม.เฉลี่ยโตเดือนละ 1.15 ซม.
    • ในปีที่ 3 และโตเฉลี่ยเดือนละ1.27
    • ในปีที่ 4 ลำต้นจะโตได้ขนาดเปิดกรีดที่รอบต้นวัดได้ 50 ซม.
    • ในปีที่ 5 พอดี ทั้งนี้เป็นการวัดสูงจากพื้นดิน150 ซม.
  • ผลผลิต 450 กก./ไร่/ปี (กรีด 120 วัน/ปี) มากกว่าRRIM 600 เกือบเท่าตัว (RRIM 600 ผลผลิต 280 กก./ ไร่/ปี) ให้ผลผลิตได้สูงได้ถึง ปีที่ 35 หลังจากนั้นจะชะลอหรือคงที่ แต่การเพิ่มฮอร์โมนเอททีลีน จะเพิ่มปริมาณน้ำยางได้อีก ความเข้มข้นของน้ำยาง 38-40 % ถือว่าอยู่ในเกณฑ์สูง
  • สามารถปลูกได้ที่เนินเขาความชันไม่เกิน 30 องศา พื้นที่ราบลุ่มและพื้นที่แล้งนาน
  • ความสามารถต่างๆ เหล่านี้ของ PB350 ได้รับการพิจารณาปลูกอย่างกว้างขวางในมาเลเชีย และภูมิภาคอินโดจีน
ยางพาราพันธุ์ PB 350
 
 PB350 อายุ 6 ปี เปิดกรีด ที่มาเลเซีย

 
ที่มา  www.Homekaset.com

วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ข้อดียางพาราพันธุ์เฉลิมพระเกียรติ 984







ข้อดียางพาราพันธุ์เฉลิมพระเกียรติ 984
ยางพาราพันธุ์เฉลิมพระเกียรติ 984  หรือที่ชาวสวนยางพารารู้จักกันดีในชื่อ RRIT 408  
เป็นพันธุ์ที่เหมาะปลูกในพื้นที่ปลูกใหม่ โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือ และภาคอีสาน  สามารถ
ให้น้ำยางเพิ่มถึง 62% เมื่อเทียบกับพันธุ์ RRIM 600
ลักษณะเด่น คือ

ปลูกง่าย-สามารถปลูกได้ทุกพื้นที่ แม้ในพื้นที่ที่มีข้อจำกัด เช่น ลาดชัน หน้าดินตื้น
                  ระดับน้ำใต้ดินสูง

ต้นตรง-รูปทรงลำต้นมีลักษณะตรง ขนาดสม่ำเสมอ สามารถขายเนื้อไม้ได้ราคาดีกว่า
                  พันธุ์
RRIT 251

โตเร็ว-ขนาดเส้นรอบวงลำต้นเพิ่มขึ้นต่อปี สูงกว่าพันธุ์ RRIM 600 ระหว่าง 8-15%
                  เปิดกรีดได้เร็วภายใน 5-6 ปี

ทนแล้ง-เจริญเติบโตได้ดีแม้ในพื้นที่สภาพแห้งแล้ง ได้ดีกว่าพันธุ์ RRIT 251

ต้านทานโรค-สามารถต้านทานโรคสูงกว่า RRIM 600 โดยเฉพาะราแป้ง ราสีชมพู
                          และโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอฟธอรา

น้ำยางสูง-ผลผลิตเนื้อยางแห้งสูง ค่าเฉลี่ย 329.6 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี มากกว่า
                          พันธุ์
RRIM 600
                          ที่ให้ผลผลิต 235.1 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี

 




















     

ยางพันธุ์เฉลิมพระเกียรติ984 หรือ RRIT408ให้ผลผลิตดี

ยางพันธุ์เฉลิมพระเกียรติ984 หรือ RRIT408 

 กรมวิชาการเกษตรโชว์ผลงานปรับปรุงพันธุ์ยางพาราพันธุ์ใหม่ "เฉลิมพระเกียรติ 984" สำเร็จ เผยศักยภาพเติบโตดี เปิดกรีดได้เร็ว ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 329.6 กก.ต่อไร่ต่อปี มากกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ 53% เร่งขยายกิ่งพันธุ์พร้อมรองรับความต้องการเกษตรกร
                นาย จิรากร โกศัยเสวี อธิบดีกรมวิชาการเกษตร บอกว่า จากการที่กรมวิชาการเกษตรได้ดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ยางพารามาอย่าง ต่อเนื่อง ทั้งพันธุ์ยางที่ให้ผลผลิตน้ำยางสูง พันธุ์ยางที่ให้เนื้อไม้สูง พันธุ์ยางที่ให้ทั้งน้ำยางและเนื้อไม้สูง มีความต้านทานโรคสำคัญ เช่น ราแป้ง ใบร่วงไฟทอปธอรา และปรับตัวได้ดีในสภาพแวดล้อมต่างๆ
               "ขณะนี้กรมประสบผลสำเร็จในการพัฒนาพันธุ์ยางพาราพันธุ์ใหม่เพิ่มอีก 1 พันธุ์แล้ว คือ ยางพาราพันธุ์เฉลิมพระเกียรติ 984 (Chalerm Prakiat 984) ซึ่งได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นจากพันธุ์ยาง 2 เป็นพันธุ์ยางชั้น 1 ในคำแนะนำพันธุ์ยางปี 2554 เป็นยางที่มีศักยภาพให้ผลผลิตน้ำยางสูง คาดจะช่วยให้ชาวสวนยางพารามีโอกาสเลือกใช้พันธุ์ยางเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สร้างอาชีพ สร้างรายได้อย่างมั่นคงด้วย" อธิบดีกรมวิชาการเกษตร แจง
               ทั้งนี้ ยางพาราพันธุ์เฉลิมพระเกียรติ 984 นี้ เดิมชื่อ RRI-CH-35-1396 เกิดจากการผสมระหว่างยางแม่พันธุ์ PB5/51(มาเลเซีย) กับพ่อพันธุ์ RRIC101 (ศรี ลังกา) ที่ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา โดยทีมนักวิจัยได้คัดเลือกแล้วนำไปปลูกเปรียบพันธุ์ยางขั้นต้น และเปรียบเทียบพันธุ์ยางขั้นปลาย ทั้งยัง ประเมินระดับความต้านทานโรค เพื่อคัดเลือกต้นที่มีศักยภาพซึ่งพบว่ายางพันธุ์นี้ มีการเจริญเติบโตระยะก่อนเปิดกรีดดี มีค่าเฉลี่ยขนาดเส้นรอบวงลำต้นโตกว่าพันธุ์เปรียบ คือพันธุ์ RRIM600 ที่ 7-10% และมีค่าเฉลี่ยขนาดเส้นรอบวงที่เพิ่มแต่ละปีระหว่าง 6-8.2 สูงกว่าพันธุ์ RRIM600 ที่ 8-15% ทำให้เปิดกรีดได้เร็ว และมีจำนวนต้นยางที่เปิดกรีดได้มากตั้งแต่ปีแรกของการเปิดกรีด
              ที่สำคัญพันธุ์นี้ยังให้ผลผลิตเนื้อยางแห้งสูง โดยในพื้นที่ปลูกยางใหม่ เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีค่าเฉลี่ย 8 ปี 329.6 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี มากกว่าพันธุ์ RRIM600 ที่ให้ผลผลิต 235.1 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี คิดเป็น 53 % ทั้ง เป็นพันธุ์ที่มีเปลือกหนา จำนวนวงท่อน้ำยางมาก ต้านทานโรคราแป้งและใบร่วงไฟทอปธอราในระดับปานกลาง การแตกกิ่งสมดุลในระดับสูง ทำให้ปลูกได้ในพื้นที่ลาดชันและมีระดับน้ำใต้ดินสูงอธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว
               น.ส.กรรณิการ์ ธีระวัฒนะสุข นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา กรมวิชาการเกษตร หนึ่งในทีมนักปรับปรุงพันธุ์ยางพาราพันธุ์เฉลิมพระเกียรติ 984 กล่าวเพิ่มเติมว่า <b>เบื้องต้นคาดว่าเกษตรกรที่เลือกปลูกยางพันธุ์นี้ จะได้รับผลผลิตเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 50 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี และทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่า 5 หมื่นบาทต่อไร่ต่อปีปัจจุบันสถาบันวิจัยยางได้มอบหมายให้ศูนย์วิจัยยาง ฉะเชิงเทรา ศูนย์วิจัยยางหนองคาย ศูนย์วิจัยยางสงขลา ศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรบุรีรัมย์ เร่งผลิตกิ่งตายางเพื่อส่งมอบให้เกษตรกรนำไปขยายพันธุ์เพิ่มปริมาณมากขึ้น และปลูกกันแพร่หลายมากขึ้น
             ยางพันธุ์เฉลิมพระเกียรติ 984 มีลักษณะการแตกกิ่งและทรงพุ่มที่สมดุลดีกว่าพันธุ์สถาบันวิจัยยาง 251 เกษตรกรในพื้นที่ที่มีข้อจำกัด เช่น พื้นที่ลาดชัน หรือพื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง ก็ปลูกได้ แต่เกษตรกรที่เลือกปลูกยางพันธุ์นี้ ไม่ควรใจร้อนเร่งเปิดกรีดยางต้นเล็ก หรือเปิดกรีดยางที่ไม่ได้ขนาด และไม่ควรกรีดยางถี่เกินไป เช่น กรีด 3 วันเว้นวัน จะทำให้ต้นยางเกิดอาการเปลือกแห้ง ทรุดโทรมเร็วขึ้น และมีอายุการใช้งานสั้นลงน.ส.กรรณิการ์ กล่าว



ที่มา : คม ชัด ลึก

ดัชนีชี้วัดความทนแล้งของพันธุ์ยางพารา - เกษตรทั่วไทย

วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม 2556 เวลา 00:00 น.

สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร สนับสนุนการวิจัย “การศึกษาค่าดัชนีชี้วัดความทนแล้ง”  เพื่อนำไปใช้คัดเลือกพันธุ์ให้ได้พันธุ์ยางที่สามารถทนต่อสภาพแห้งแล้ง เป็นทางเลือกสำหรับเกษตรกรในการเลือกใช้พันธุ์ยางที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางพาราได้
นางสาวนภาวรรณ เลขะวิพัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยยางหนองคาย กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า สถาบันวิจัยยางได้มอบหมายให้นักวิชาการของศูนย์วิจัยยางหนองคายทำการศึกษา วิจัยดัชนีชี้วัดความทนแล้งของยางพารา โดยศึกษาจากลักษณะทางสรีระวิทยาและการแสดงออกของต้นยางที่เกี่ยวกับการทน แล้งเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการคัดเลือกพันธุ์ยางทนแล้ง ซึ่งถือเป็นก้าวใหม่ของการวิจัยยางพารา  ในส่วนของลักษณะทางสรีระวิทยาของพันธุ์ยางที่ศึกษา ได้แก่ ค่าชลศักย์ของน้ำในใบยาง(Leaf water potential) การชักนำการเปิด-ปิดปากใบ(Stomatal conductance) และค่าเปอร์เซ็นต์การชักนำการเกิดฟองอากาศในท่อไซเล็ม (Percent Loss of conductivity ; PLC)
เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างค่าชลศักย์ของน้ำในใบ กับ ค่าการสูญเสียความสามารถในการลำลียงน้ำของไซเล็ม และค่าการชักนำการเปิด-ปิดปากใบ จะได้ค่าที่เรียกว่า Hydraulic safety margin หรือช่วงระดับศักย์ของน้ำในใบที่เปลี่ยนแปลงไปโดยพืชยังสามารถดำเนินกิจกรรม ได้ตามปกติ
หากค่า Hydraulic safety margin ที่ได้มีค่ามาก หรือมีช่วงกว้าง แสดงว่าพืชมีการปรับตัวในสภาพแล้งด้วยการลดการคายน้ำได้ดี และมีความทนทานต่อการเกิดฟองอากาศในไซเล็มเมื่อเจอสภาวะแห้งแล้ง ซึ่งค่านี้สามารถนำมาใช้เป็นดัชนีทางสรีระวิทยาที่บ่งชี้ความทนแล้งของ ยางพาราได้
ถ้านำค่าดัชนีชี้วัดความทนแล้งมาปรับใช้ในการคัดเลือกพันธุ์ยางตั้งแต่ ต้นยางอายุ 1-2 ปี จะสามารถลดระยะเวลาการคัดเลือกพันธุ์ยางที่ทนทานต่อความแห้งแล้งลงได้อีก อย่างน้อย 7 ปี ซึ่งจะได้ทั้งพันธุ์ยางทนแล้งและให้ผลผลิตน้ำยางสูง หากศึกษาร่วมกับวิธีทางเทคโนโลยีชีวภาพถึงขั้นการทำแผนที่พันธุกรรม และได้เครื่องหมายโมเลกุลที่เกี่ยวกับการทนแล้ง ก็สามารถนำมาใช้คัดเลือกพันธุ์ยางทนแล้งและให้ผลผลิตน้ำยางสูงด้วยตั้งแต่ ยังเป็นยางต้นเล็ก ไม่ต้องรอจนถึงการกรีดให้ได้ผลผลิตครบรอบอายุยาง ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการศึกษาวิจัยและคัดเลือกพันธุ์ยางได้ค่อนข้างมาก

นางสาวนภาวรรณกล่าวอีกว่า จากการศึกษาเปรียบเทียบค่าดัชนีชี้วัดความทนแล้งระหว่างยางพาราพันธุ์สถาบัน วิจัยยาง 251 (RRIT 251) กับยางพันธุ์เฉลิมพระเกียรติ 984 (พันธุ์สถาบันวิจัยยาง 408) พบว่า ยางพันธุ์เฉลิมพระเกียรติ 984  มีค่า Hydraulic safety margin ที่มีช่วงกว้างมากกว่า พันธุ์ RRIT 251 นั่นคือพันธุ์เฉลิมพระเกียรติ  984 มีความทนทานต่อสภาวะแห้งแล้งได้ดีกว่าพันธุ์สถาบันวิจัยยาง 251  ซึ่งนอกจากยางพันธุ์เฉลิมพระเกียรติ 984 จะให้ผลผลิตน้ำยางสูงผลผลิต 8 ปีกรีดเฉลี่ยอยู่ที่ 350 กิโลกรัม/ไร่/ปี ยังเหมาะสมสำหรับปลูกในพื้นที่ปลูกยางใหม่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคเหนือ
“การศึกษาค่าดัชนีชี้วัดความทนแล้งของยางพารานี้ นับว่าเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดระยะเวลาการดำเนินงานวิจัยขั้นตอนพื้นฐาน และช่วยประหยัดงบประมาณภาครัฐในการปรับปรุงพันธุ์ยางได้ ที่สำคัญยังได้พันธุ์ยางที่ทนต่อสภาพแห้งแล้งและเหมาะสมกับเขตปลูกยางใหม่  ถ้าหากนำพันธุ์ที่ได้จากการคัดเลือกให้ผลผลิตน้ำยางสูง และมีความทนแล้งมาปลูกทดแทนยางพันธุ์อาร์อาร์ไอเอ็ม600 (RRIM 600) ก็จะทำให้เกษตรกรชาวสวนยาง และ ประเทศไทยได้รับผลผลิตยางและมีรายได้จากการผลิตยางพาราเพิ่มมากขึ้น”  ผอ.ศูนย์วิจัยยางหนองคายกล่าว
หากสนใจข้อมูลเกี่ยวกับ “การศึกษาค่าดัชนีชี้วัดความทนแล้ง” สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วิจัยยางหนองคาย จังหวัดหนองคาย  โทร. 0-4242-1714 หรืออีเมล์ nrrc_nr@yahoo.com

วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ขายยางตาเขียว984ราคาถูก

ประกาศ

ขายยางตาเขียวพันธุ์เฉลิมพระเกียรติหรือRRIT984  ราคา  23  บาท มีจำนวน 20,000 ต้น

โทร. 0817681231

วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วิธีการทำสารจับใบไว้ใช้เอง

 วิธีการทำสารจับใบไว้ใช้เอง

ปุ๋ยหรือสารเสริมต่างๆทางการเกษตรหลายตัว เราสามารถทำเองได้ และต้นทุนจะต่ำกว่าที่มีขายตามท้องตลาดประมาณ 50 เท่าตัวขึ้นไป และคุณภาพก็ไม่ต่างกัน เผลอๆที่เราทำเองอาจมีคุณภาพดีกว่า เพราะ สินค้ากลุ่มนี้ที่มีในท้องตลาด ส่วนใหญ่"ไม่มีทะเบียน""ไม่บอกวันหมดอายุ"เราจะรู้ได้อย่างไรว่าของในขวดมี คุณภาพเหมือนที่บอกไว้ในฉลาก วันนี้ขอเอาสูตรสารจับใบแบบทำเองมาฝากครับ

ส่วนผสม

1. N  70             1      กิโลกรัม(หัวเชื้อ N 70 ใช้ทำแชมพู น้้ำยาล้างจาน น้ำยาความสะอาด)
(จำหน่าย หัวเชื้อ SLES N70 คุณภาพดี จากมาเลย์ ผลิตจากปาล์ม ถนอมมือ ใช้ทำหัวเชื้อทำแชมพู ยาสระผม น้ำยาล้างจาน น้ำยาทำวามสะอาด ขายปลีก และ ขายส่ง ราคากิโลกรัมละ 65-75 บาท ขึ้นอยู่ปริมาณการซื้อ บริการส่งทั่วประเทศ  ราคานี้ยังไม่รวมค่าจัดส่ง www.siamabsolute.co.th. 081-9210679)
2. เกลือป่น           1      กิโลกรัม
3. น้ำสะอาด       13   ลิตร


วิธีทำ 

1.  ผสมเกลือ  1  กก. น้ำ 3 ลิตรคนให้ละลาย
2.  กวน  N70 อย่างน้อย  5  นาทีจนขึ้นนวล
3.  เติมน้ำเกลือที่เตรียมไว้  1  ลิตร กวนให้เข้าก้นจนครบ  2  ลิตร
4.  เติมน้ำสะอาดครั้งละ 1 ลิตร กวนให้เข้าก้นจนครบ 10 ลิตร กวนจนเป็นเนื้อเดียวกัน
5.  เติมน้ำเกลือส่วนที่เหลือ  1 ลิตร เพื่อปรับสภาพ

วิธีใช้ ผสมสารจับใบที่ได้ 5-10 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร

ประโยชน์

ช่วย ในการยึดเกาะพื้นผิว ทำให้น้ำยาแผ่กว้าง จับใบแล้วดูดซึมเข้าใบหรือลำต้นได้ดี และเร็วขึ้น ทำให้ละอองน้ำยามีขนาดเล็ก กระจายทั่วต้นได้ดี และแห้งเร็วกว่าปกติ เพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ย และยา ลดการสูญเสียของสารเคมี เนื่องการการชะล้างของฝนหรือน้ำ ช่วยรักษาอุปกรณ์พ่นยา ป้องกันการอุดตันของหัวฉีด